สมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช ผู้กอบกู้​เอกราชชาติไทย

 สมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรีหรือสมเด็จพระเจ้าตากสิน


มีพระนามเดิมว่าสินเป็นคนไทยเชื้อสายจีนบิดาเป็นนายอากรบ่อนเบี้ยมีบรรดาศักดิ์เป็นขุนพัดสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราชพระราชสมภพเมื่อปีพุทธศักราช​ 2277 พระองค์ทรงเรียนหนังสือที่วัดโกษาวาสทรงมีความรู้หลายภาษาเมื่อบวชเรียนแล้วจึงได้เข้ารับราชการเป็นเจ้าเมืองตากจึงมีผู้เรียกพระองค์ว่าพระยาตาก พระเจ้าตากทรงทำพิธีปราบดาภิเษกเป็นกษัตริย์ครองกรุงธนบุรี เมื่อวันพุธ เดือนอ้าย แรม 4 ค่ำ จุลศักราช 1130 ปีชวด สัมฤทธิศก ตรงกับวันที่ 28 เดือนธันวาคม พ.ศ. 2311 ขณะมีพระชนมายุได้ 34 พรรษา ทรงนามว่า สมเด็จพระศรีสรรเพชญ์ หรือ สมเด็จพระบรมราชาที่ 4 แต่ประชาชนทั่วไปยังนิยมขนานพระนามพระองค์ว่า สมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรี พระองค์ทรงเป็นพระมหากษัตริย์ผู้มีความปรีชาสามารถในด้านการรบและเป็นผู้สถาปนาอาณาจักรธนบุรี



ผลงานสำคัญของสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช การกอบกู้เอกราชของชาติไทย สมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราชทรงเป็นผู้กอบกู้เอกราชและรวบรวมอาณาจักรไทยที่แตกแยกให้เป็นปึกแผ่นมั่นคงสืบต่อมา พระองค์ได้สู้ป้องกันกรุงศรีอยุธยา ระหว่างที่สู้รบกับพม่าพระยาตากเห็นว่าการป้องกันของพระนครขาดประสิทธิภาพหากยังสู้รบต่อไปก็คงพ่ายแพ้ให้แก่พม่าดังนั้นก่อนที่จะเสียกรุงศรีอยุธยาพระองค์จึงรวบรวมไพร่พลคนประมาณ 500 นาย ตีฝ่าวงล้อมกองทัพพม่าออกจากพื้นออกจากกรุงศรีอยุธยา เมื่อเตรียมกองกำลังพลพร้อมทำการศึก พระองค์ได้ทรงยกกองทัพโจมตีทหารพม่าที่กรุงธนบุรี ขับไล่กองทัพพม่าออกจากกรุงศรีอยุธยาจนทัพพม่าแตกพ่ายได้สำเร็จ จึงทำให้ราชอาณาจักรของชาวไทยสืบต่อกันมาจนถึงปัจจุบัน



การสร้างความเป็นปึกแผ่นมั่นคงเมื่อกรุงศรีอยุธยาซึ่งเป็นเมืองหลวงแตกทำให้ศูนย์กลางการปกครองของอาณาจักรล่มสลายจึงมีผู้นำจัดตั้งชุมนุมต่างๆป็นก๊กเป็นเหล่ากระจายอยู่ในพื้นที่ต่างๆ ได้แก่

ก๊กที่ 1 เจ้าพระยาพิษณุโลก (เรือง) ตั้งตัวเป็นเจ้าที่เมืองพิษณุโลก

    ก๊กที่ 2 เจ้าพระฝาง (เรือน) อยู่ที่วัดพระฝาง เมืองสวางคบุรี ตั้งตัวเป็นเจ้าทั้งที่ยังเป็นพระ

    ก๊กที่ 3 เจ้านคร (หนู) เดิมเป็นปลัดผู้รั้งเมืองนครศรีธรรมราช

    ก๊กที่ 4 กรมหมื่นเทพพิพิธ ตั้งตัวเป็นใหญ่ที่เมืองพิมาย

    ก๊กที่ 5 คือก๊กพระยาตาก ตั้งตัวเป็นใหญ่ที่เมืองจันทบุรี

ซึ่งก๊กต่าง ๆ เหล่านี้ล้วนเป็นพระราชภาระที่สมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราชจะต้องทรงกระทำโดยเร็ว ดังจะได้จำแนกพระราชกรณียกิจของพระองค์ออกเป็น 2 ด้านคือ การสร้างชาติให้เป็นปึกแผ่นมั่นคง และการฟื้นฟูบ้านเมืองทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรมของชาติท้องถิ่นต่างๆ พระเจ้าตากสินมหาราชทรงแก้ไขปัญหาเศรษฐกิจ​ต่างๆได้สำเร็จและทรงปรับปรุงสังคมและทรงฟื้นฟูวัฒนธรรม พระเจ้าตากสินมหาราช ทรงเป็นผู้สร้างวีรกรรมกอบกู้แผ่นดิน ศาสนา ฟื้นฟูขวัญและกำลังใจของปวงชนที่สิ้นหวังให้รวมพลังเป็นปึกแผ่น สามารถปกป้องรักษาราชอาณาจักรไทยไว้ ด้วยพระมหากรุณาธิคุณอันยิ่งใหญ่นี้ คณะรัฐมนตรีจึงให้ความเห็นชอบตามคำเรียกร้องของประชาชน ให้ถวายพระราชสมัญญานามว่า “ สมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช ” เมื่อวันที่ 27 ตุลาคม พุทธศักราช​ 2524

ความคิดเห็น