ความเป็นมาของปาท่องโก๋

ปาท่องโก๋คือการนำแป้งมาจับคู่และทอดในน้ำมันที่หลายคนรู้จักกันดีในชื่อ 'ปาท่องโก๋' ปาท่องโก๋เป็นอาหารยอดนิยมที่กลายเป็นสัญลักษณ์ของอาหารมื้อเช้า หลายคนมักจะรับประทานพร้อมกับโจ๊กอุ่น หรือกินคู่กับกาแฟร้อน ๆ สักแก้วก็ทำให้มื้อเช้านั้นกลายเป็นมื้อที่อร่อยได้   สำหรับชาวจีนแต้จิ๋วแล้ว จะเรียกอาหารชนิดนี้ว่า 'อิ่วจาก้วย' ชาวจีนฮกเกี้ยนจะเรียกว่า 'อิ่วเจียะโก้ย' และภาษาจีนกลางเรียกว่า 'โหยวเถียว'   ความเป็นมาของอาหารชนิดนี้ย้อนกลับไปในสมัยราชวงศ์​ซ่งใต้ แม่ทัพงักฮุยเป็นแม่ทัพที่ซื่อสัตย์มีความเก่งกาจและมีความสามารถในด้านการรบเป็นอย่างมากในช่วงเวลาดังกล่าว แผ่นดินจีนต้องเผชิญกับภัยคุกคามจากชนเผ่าต่าง ๆ ที่สร้างดินแดนของตนเองพร้อมกับยกทัพเข้ามาแย่งชิงดินแดนและทรัพยากรตลอดเวลาอีกทั้งราชสำนักซ่งยึดคติรวมอำนาจทหารเข้ามาที่ศูนย์กลาง​ เน้นที่ขุนนางฝ่ายบุ๋นมากกว่าฝ่ายบู๊ จึงทำให้กองทัพอ่อนแอลงเป็นอย่างมาก แต่เมื่อแม่ทัพงักฮุยสามารถที่จะต่อสู้และขับไล่ข้าศึกออกไปได้ทำให้ประชาชนยกย่องเป็นอย่างมาก แต่การที่มีความสามารถโดดเด่นยอมทำให้เกิดความไม่พอใจขึ้นโดยเฉพาะขุนนางกังฉิน หรือมีชื่อว่า "ฉินไคว่" แต่ก็ไม่สามารถทำอะไรได้ภรรยาของฉินไคว่ได้เสนอแนะแผนการที่สามีไปยุยงฮ่องเต้ให้เกิดความไม่มั่นใจ คิดว่าแม่ทัพงักฮุยคิดไม่ซื่อ จึงเรียกตัวกลับมาจากชายแดนและใส่ร้ายป้ายสีแม่ทัพจนถูกประหารชีวิตในที่สุดเนื่องจากประชาชนมีความรักในตัวแม่ทัพงักฮุยเป็นอย่างมากจึงพากันโกรธแค้นและสาปแช่ง​ให้ฉินไคว่ภรรยา แต่ก็ไม่อาจที่จะทำอะไรทั้งสองได้   ดังนั้นประชาชนจึงนำแผ่นแป้งมาประกบคู่กันและนำลงไปทอดในน้ำมันพร้อมกับสาปแช่ง​สามีภรรยาคู่นี้ไปด้วยโดยเรียกอาหารชนิดนี้ว่า 'อิ่วจาก้วย' ที่มี​ความหมายว่า น้ำมันทอดฉินไคว่และสร้างรูปปั้นฉินไคว่และภรรยาในท่าทางคุกเข่า​ต่อหน้าสุสานของแม่ทัพงักฮุย แต่สาเหตุที่คนไทยเรียกอาหารชนิดนี้ว่า ปาท่องโก๋ เป็นเพราะว่าในสมัยก่อนร้านที่ขายอิ่วจาก้วยนั้นมักจะขายแป้งทอดราดน้ำตาลที่เรียกว่า ปาท่องโก๋ ด้วยจึงเกิดความสับสนและจำผิดว่า ปาท่องโก๋ หมายถึง อิ่วจาก้วยนั้นเอง แต่ในจังหวัดทางภาคใต้ของประเทศไทยยังมีอยู่บ้างที่เรียกตามชื่อเดิมว่า 'อิ่วจาก้วย' ในประเทศไทย นอกจากจะรับประทานกับน้ำเต้าหู้หรือรับประทานกับโจ๊กหรือกาแฟแล้ว ยังนิยมรับประทานคู่กับนมข้นหวานหรือสังขยาด้วยซึ่งก็อร่อยและเหมาะที่จะเป็นของหวานได้เช่นกัน

ประวัติความเป็นมาของปาท่องโก๋

ปาท่องโก๋คือการนำแป้งมาจับคู่และทอดในน้ำมันที่หลายคนรู้จักกันดีในชื่อ 'ปาท่องโก๋' ปาท่องโก๋เป็นอาหารยอดนิยมที่กลายเป็นสัญลักษณ์ของอาหารมื้อเช้า หลายคนมักจะรับประทานพร้อมกับโจ๊กอุ่น หรือกินคู่กับกาแฟร้อน ๆ สักแก้วก็ทำให้มื้อเช้านั้นกลายเป็นมื้อที่อร่อยได้ 

สำหรับชาวจีนแต้จิ๋วแล้ว จะเรียกอาหารชนิดนี้ว่า 'อิ่วจาก้วย' ชาวจีนฮกเกี้ยนจะเรียกว่า 'อิ่วเจียะโก้ย' และภาษาจีนกลางเรียกว่า 'โหยวเถียว' 

ความเป็นมาของอาหารชนิดนี้ย้อนกลับไปในสมัยราชวงศ์​ซ่งใต้ แม่ทัพงักฮุยเป็นแม่ทัพที่ซื่อสัตย์มีความเก่งกาจและมีความสามารถในด้านการรบเป็นอย่างมากในช่วงเวลาดังกล่าว แผ่นดินจีนต้องเผชิญกับภัยคุกคามจากชนเผ่าต่าง ๆ ที่สร้างดินแดนของตนเองพร้อมกับยกทัพเข้ามาแย่งชิงดินแดนและทรัพยากรตลอดเวลาอีกทั้งราชสำนักซ่งยึดคติรวมอำนาจทหารเข้ามาที่ศูนย์กลาง​ เน้นที่ขุนนางฝ่ายบุ๋นมากกว่าฝ่ายบู๊ จึงทำให้กองทัพอ่อนแอลงเป็นอย่างมาก 

แต่เมื่อแม่ทัพงักฮุยสามารถที่จะต่อสู้และขับไล่ข้าศึกออกไปได้ทำให้ประชาชนยกย่องเป็นอย่างมาก แต่การที่มีความสามารถโดดเด่นยอมทำให้เกิดความไม่พอใจขึ้นโดยเฉพาะขุนนางกังฉิน หรือมีชื่อว่า 'ฉินไคว่' แต่ก็ไม่สามารถทำอะไรได้ภรรยาของฉินไคว่ได้เสนอแนะแผนการที่สามีไปยุยงฮ่องเต้ให้เกิดความไม่มั่นใจ คิดว่าแม่ทัพงักฮุยคิดไม่ซื่อ จึงเรียกตัวกลับมาจากชายแดนและใส่ร้ายป้ายสีแม่ทัพจนถูกประหารชีวิตในที่สุดเนื่องจากประชาชนมีความรักในตัวแม่ทัพงักฮุยเป็นอย่างมากจึงพากันโกรธแค้นและสาปแช่ง​ให้ฉินไคว่ภรรยา แต่ก็ไม่อาจที่จะทำอะไรทั้งสองได้ 

ดังนั้นประชาชนจึงนำแผ่นแป้งมาประกบคู่กันและนำลงไปทอดในน้ำมันพร้อมกับสาปแช่ง​สามีภรรยาคู่นี้ไปด้วยโดยเรียกอาหารชนิดนี้ว่า 'อิ่วจาก้วย' ที่มี​ความหมายว่า น้ำมันทอดฉินไคว่และสร้างรูปปั้นฉินไคว่และภรรยาในท่าทางคุกเข่า​ต่อหน้าสุสานของแม่ทัพงักฮุย 

แต่สาเหตุที่คนไทยเรียกอาหารชนิดนี้ว่า ปาท่องโก๋ เป็นเพราะว่าในสมัยก่อนร้านที่ขายอิ่วจาก้วยนั้นมักจะขายแป้งทอดราดน้ำตาลที่เรียกว่า ปาท่องโก๋ ด้วยจึงเกิดความสับสนและจำผิดว่า ปาท่องโก๋ หมายถึง อิ่วจาก้วยนั้นเอง แต่ในจังหวัดทางภาคใต้ของประเทศไทยยังมีอยู่บ้างที่เรียกตามชื่อเดิมว่า 'อิ่วจาก้วย' ในประเทศไทย นอกจากจะรับประทานกับน้ำเต้าหู้หรือรับประทานกับโจ๊กหรือกาแฟแล้ว ยังนิยมรับประทานคู่กับนมข้นหวานหรือสังขยาด้วยซึ่งก็อร่อยและเหมาะที่จะเป็นของหวานได้เช่นกัน


ความคิดเห็น